การลงทุนผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด

  สำหรับการลงทุนผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากการผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว เพราะซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานที่คัดเอา เฉพาะเมล็ดข้าวโพด ทำให้เหลือซังข้าวโพดไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก จึงมีนักวิจัยนำซังข้าวโพดที่เหลือใช้นี้ไปเผาเป็นถ่าน แล้วทดลองอัดด้วยกรรมวิธีการอัดเย็น เหมือนกับการผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว ผลทดลองที่ได้เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากว่าสามารถอัดเป็นถ่านอัดแท่งได้เหมือนกันกับถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว ถึงแม้ว่าค่า ความร้อนที่ได้มาจากผลทดสอบ จะน้อยกว่าถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าวก็ตาม แต่ก็ยังสูงกว่า และคุณภาพดีกว่าหลายๆ อย่างเมื่อเทียบกับถ่านไม้ จึงเกิดเป็นอาชีพขึ้นมา อีกแขนงหนึ่งคือการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดนะครับ
  บ่นมาให้ฟังก็นานแล้วเนอะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า ผม เป้ ครับ วันนี้มาเล่า มาพูดให้ฟัง หลากหลายเนื้อหา หลากหลายแง่มุม ที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ ขอให้ทุกท่านคิดว่า ข้อมูลที่ผมพูดให้ท่านอ่านนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจของท่านเท่านั้น เพื่อให้ท่านมีความกระจ่างเกี่ยวกับธุรกิจตัวนี้ให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ได้บังคับหรือชี้นำให้ท่านมาทำธุรกิจตัวนี้ ไม่ได้ยุยงหรือส่งเสริมให้ท่านซื้อเครื่องจากทางผม แต่เป้าหมายของผมคือ ให้ท่านได้นำความรู้นี้ไปใช้ในการตัดสินใจที่จะผลิต ที่จะลงทุน ที่จะดำเนินธุรกิจ แบบว่า เป็นความคิดเห็น หรือว่าเป็น เพื่อนของคุณคนหนึ่งก็แล้วกันนะครับ ฮ่าๆๆๆ (เป้เองครับ 25/08/2006)


1.สวัสดีค่ะมือใหม่ค่ะคุณเป้ อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดน่ะ ค่ะ อยากทราบว่า ทางดิฉันจะผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด จะได้มั้ย แล้วนำส่วนไหนของข้าวโพด มาทำถ่านอัดแท่งได้บ้างนะค่ะ รบกวนขอข้อมูลหน่อยค่ะ อยากสร้างอาชีพเสริมบ้างค่ะ ???
  สำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดนะครับ ผลิตได้นะครับ ส่วนที่เรานำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตถ่านอัดแท่ง ก็คือ ซังข้าวโพดนะครับหรือ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ แกนข้าวโพดน่ะครับ เปลือกข้าวโพด ต้นข้าวโพด ก็เอาไปเป็นอาหารสัตว์น่ะครับ ถึงจะนำมาเผาเป็นถ่านได้ แต่คุณภาพยังไม่ดีเท่าการนำซังข้าวโพดมาเผาเป็นถ่านน่ะครับ สรุปก็คือ แกนข้าวโพด เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดนะครับ
....
2.หวัดดีครับคุณเป้ ผมคนหนึ่งก็มีความสนใจผลิตถ่านอัดแท่งด้วยคนนะครับ ขอร่วมขอความรู้ด้วยคนนะครับ ที่บอกมาข้างต้นว่า นำซังข้าวโพดหรือว่า แกนข้าวโพดมาผลิต เป็นถ่านอัดแท่ง เนี่ย ต้องเผาเป็นถ่านไม่ใช่เหรอครับ แล้วมันก็ติดปัญหาตอนเผาแกนข้าวโพด หรือว่า ซังข้าวโพด ให้เป็นถ่านเนี่ย เขาทำอย่างไรกันบ้างครับคุณเป้ เอาแบบง่าย แล้วก็สะดวกนะครับ เพราะต้นทุนไม่สูงนะครับ แต่ก็อยากทำนะครับ ???
  สวัสดีเช่นกันครับ ใช่แล้วครับ ซังข้าวโพดต้องเผาให้เป็นถ่านก่อนนะครับ ถึงจะนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดได้นะครับ เข้าใจถูกแล้วนะครับ แต่ทุกคนที่กังวล ก็คงติดที่ว่าจะเผาซังข้าวโพดให้เป็นถ่านได้อย่างไร ใช่มั้ยครับ วันนี้ผมจะแนะนำวิธีการผลิตถ่านจากซังข้าวโพด ง่ายๆให้นะครับ จะได้มีความเข้าใจแล้วสามารถนำไปเผาใช้งาน ได้จริงนะครับ มาดูขั้นตอนรายละเอียดกันนะครับ

การเผาซังข้าวโพดให้เป็นถ่านซังข้าวโพด
นำถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร โดยเจาะรูข้างถัง 3 รู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว เรียงกันลงมาในแนวดิ่ง ให้รูทั้งสามข้างเท่า ๆ กัน และอยู่ห่างจากปากถังและก้นถัง
วิธีเผา หันถังให้ช่องลมตรงทางลม แล้วจึงเริ่มจุดไฟในถังด้วยเศษไม้เล็ก ๆ ก่อน เมื่อไฟลุกดีแล้วจึงค่อย ๆ เติมซังข้าวโพดลงไป 1 ส่วน ( ซังข้าวโพดที่จะเผาให้แบ่งเป็น 3 ส่วน) จนซังข้าวโพดไหม้หมด สังเกตได้จากมีเปลวไฟขึ้นรอบ ๆ ถังโดยไม่มีควันไฟ แล้วจึงเติมซังข้าวโพดส่วนต่อไปจนเต็มถัง เมื่อซังข้าวโพดมีปริมาณถึงรูก็อุดรูนั้น จากนั้นก็ปิดฝาถัง แล้วคว่ำลงบนดิน หรีอทรายทิ้งไว้ทั้งคืน วันรุ่งขึ้นเมื่อถังเย็นดีแล้วจึงเทถ่านออกมา แต่ต้องระวังถ้าถ่านยังร้อนอยู่ เมื่อเทออกจากถัง ถ่านจะเผาไหม้ต่อได้

  เป็นอย่างไรบ้างครับ อันนี้ง่ายๆ อยากให้นำไปทดสอบดูนะครับ รับรองว่าใช้ได้ชัีวส์ครับวิธีนี้ ส่วนผลผลิตถ่านที่ได้ (ซังข้าวโพด 100 กิโลกรัม จะเผาเป็นเนื้อถ่านได้ 30-40 กิโลกรัม) เราจะได้ถ่านซังข้าวโพดพร้อมนำไปอัดเป็นถ่านอัดแท่งแล้วละครับ
...

3.ขอบคุณมากครับ คงต้องนำไปทดลองแน่ๆ ครับ เมื่อออกมาเป็นถ่านซังข้าวโพดเรียบร้อยแล้วเราจะนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งอย่างไรบ้างครับ ???

  ดูตามแผนผังการทำงานที่ผมสร้างขึ้นแล้วกันนะครับ จะเข้าใจง่ายกว่านะครับ แต่หลักๆ ก็คือ ซังข้าวโพด เนี่ย เราต้องเผาออกมาให้เป็นถ่านก่อนนะครับ ถึงจะนำมาเข้ากระบวนการอัดแท่งถ่านได้นะครับ ไม่เหมือน ขี้เลื่อย กับแกลบ นะครับ ที่ 2 วัตถุดิบนั้น ใช้อัดโดยตรงได้ทันที ของเราซังข้าวโพด ต้องเผาออกมาเป็นถ่าน ก่อนครับ
...


4.ขั้นตอนเ่ท่าที่ดูแล้วคล้ายๆกันกับถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าวเลยนะค่ะเนี่ย ใช่มั้ยค่ะคุณเป้ ???

  ใช่แล้วครับ ขั้นตอนคล้ายกันครับ แต่วัตถุดิบไม่เหมือนกัน วิธีการเผาถ่านซังข้าวโพดไม่เหมือนกันกับการเผาถ่านจากกะลามะพร้าวครับ แต่ในส่วนการอัดเป็นแท่งถ่านอัด เนี่ยเหมือนกันทัุกขั้นตอนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แป้งมันเป็นตัวประสานเนื้อถ่าน ส่วนผสมที่จะทำให้ถ่านอัดแท่งแน่น แล้วก็แข็ง พูดง่ายๆ ขั้นตอนวิธีการอัดแท่งถ่าน เหมือนกันกับถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว ทุกขั้นตอนครับ
.....

5.ถ่านซังข้าวโพดเนี่ย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณภาพดี เหมาะกับการนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งครับ ???
  สำหรับถ่านจากซังข้าวโพดนะครับ ซังข้าวโพดสิ่งที่ทางผู้ผลิตถ่านซังข้าวโพดควรให้ความสำคัญมากที่สุดนะครับ คือ ซังข้าวโพดต้องเผาใหม้เป็นถ่านที่สมบูรณ์นะครับ ต้องเป็นถ่านทั้งแท่ง ไม่ใช่ว่า ครึ่งสุกครึ่งดิบนะครับ เพราะจะทำให้ถ่านหลังจากที่เรานำมาอัดแท่งแล้ว มีควัน เนื่องจากเยื่อซังข้าวโพดที่ยังเผาไหม้ ไม่สมบูรณ์ จะเป็นเชื้อทำให้ ถ่านอัดแท่งเกิดควันนะครับ (ทำให้คุณภาพของถ่านอัดแท่งที่ผลิตมีคุณภาพต่ำลงนะครับ) และอีกประการที่สำคัญครับ ถ่านซังข้าวโพดที่ออกจากเตาแล้วควรร่อนเอาเฉพาะชิ้นถ่าน เท่านั้นนะครับ จะได้คุณภาพของวัตถุดิบถ่านซังข้าวโพดคุณภาพดี นะครับ
.....
6.เห็นผังการผลิตแล้วก็อยากจะทำถ่านอัดแท่ง เสียแล้ว ต้องมีเครื่องจักร กี่เครื่อง แล้วใช้ประโยชน์อย่างไรบ้างค่ะ ???

  สำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งจะใช้เครื่องจักรหลักๆ อยู่ 3 เครื่องด้วยกันนะครับ

1.เครื่องบดผงถ่าน (สำหรับบดผงถ่านซังข้าวโพด ให้มีขนาดเล็ก พอเหมาะสำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด นะครับ)
2.เครื่องผสมผงถ่าน (สำหรับผสมผงถ่าน แป้งมัน น้ำ ให้คลุกเคล้า เข้ากัน เพื่อให้ผงถ่านเป็นเนื้อเดียวกันก่อนที่จะอัดครับ )
3.เครื่องอัดแท่งถ่าน (เมื่อส่วนผสมเรียบร้อยแล้ว ก็นำเข้าเครื่องนี้อัดเป็นแท่งถ่านออกมานะครับ )

  เป็นอย่างไรบ้างครับ เครื่องจักรทั้ง 3 เครื่องนี้ นับว่ามีความจำเป็นสำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งเลยเชียวแหละครับ ดูเครื่องแล้วจะเห็นว่ามีเยอะกว่าการผลิตแบบอัดร้อน แต่จริงๆ แล้วราคาเครื่องจักรอัดเย็นทั้ง 3 เครื่องนี้ ยังไม่เท่ากับราคาเครื่องจักรอัดร้อน เครื่องเดียว นะครับเนี่ย ขอบอก ขอบอก ฮ่าๆๆๆ
.....

7.ขอดูรูปเครื่องบดผงถ่านหน่อยนะค่ะ
 
 ไม่มีปัญหาครับ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นใช่มั้ยครับ จัดให้เลยครับ สำหรับเครื่องจักรบดผงถ่านนี้ ต้องการกำลังการผลิตเท่าไหร่ ก็สั่งมาได้เลยครับ เพื่อให้เหมาะสม กับการผลิตของผู้ผลิตนะครับ ขนาดของผงถ่านที่ได้จากเครื่องจักรเครื่องนี้นะครับ จะพอเหมาะสำหรับผลิตถ่านอัดแท่งนะครับ ขนาดของผงถ่านจะมีขนาดใกล้เคียงกัน กำลังการผลิตผงถ่านของเครื่องที่เห็นอยู่นี้ สูงถึง 15 ตัน/วันเลยครับ
.....
8.เครื่องผสมด้วยนะค่ะ
 
 ได้ครับ อันนี้คือเครื่องผสมผงถ่านนะครับ จะสูงหน่อย เพราะจะตั้งไว้ด้านบนของเครื่องอัด เพื่อให้ผงถ่านไหลลงเครื่องอัดถ่านพอดีครับ ภายในถังจะมีใบกวนผสมผงถ่านให้เข้ากัน ทั้งหมดอยู่ 3 ใบ ครับ จำทำงานพร้อมกันกับเครื่องอัดครับ เครื่องนี้จะมี 2 ช่อง สำหรับปล่อยลงเครื่องอัดแท่งถ่านได้ถึง 2 เครื่อง เพื่อให้การทำงานของเครื่องอัด ทำงานไปพร้อมกันได้ตลอดนะครับ รูปด้านขวา จะเห็นว่าสนิมขึ้นหน่อยนะครับ เนื่องจากว่าผ่านการใช้งานมานะครับ อันนี้ของจริงครับ
.....
9.สุดท้ายก็เครื่องอัดแท่งถ่านค่ะ
 
 อันนี้ถือว่าเป็น เครื่องสำคัญเลยเชียวแหละ ถ่านจะแน่นหรือเปล่า ถ่านจะออกมาสวยหรือเปล่า ก็ต้องเจ้าเครื่องนี้แหละครับ ดูดังรูปเลยนะครับ เครื่องอัดเครื่องนี้มีกำลังการผลิตต่อวัน สูงถึง 1400 กิโลกรัม/วัน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตต้องการความแน่นของถ่านเท่าไหร่นะครับ ถ้าหากว่าต้องการความแน่นมากเป็นพิเศษ กำลังการผลิตก็จะลดต่ำลงมาอีกนะครับ เพราะยิ่งแน่น การทำงานก็จะยิ่งช้าลงนะครับ เครื่องนี้จะใช้ร่วมกันกับเครื่องผสมผงถ่านเพื่อให้เป็นการทำงานที่ต่อเนื่อง ทั้งวันครับ มอเตอร์ที่ใช้ ใช้มอเตอร์ ขนาด 10 แรงม้า 3 เฟส 380 โวล์ท ครับ ส่วนรูปแบบของแท่งถ่าน จะให้ออกมาเป็นแบบสี่เหลี่ยม ก็ได้ หรือว่าเป็นแบบ หกเหลี่ยมก็ได้ ซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตต้องการแบบไหน ก็เปลี่ยนเฉพาะกระบอกอัดก็ทำงานได้แล้วครับ ง่ายเนอะ ฮ่าๆๆๆ
.....
10.OK ค่ะ เห็นชัดแจ๋วเลย แล้วจะผลิตถ่านออกมาได้อย่างไรบ้างค่ะ ทั้งสามเครื่องนี้ทำงานพร้อมกันเลยหรือเปล่า ???

  เครืองบดผงถ่านจะทำงานก่อนครับ จากนั้นเครื่องผสมผงถ่าน กับเครื่องอัดแท่งถ่านทำงานพร้อมกันครับ สำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งมีกระบวนการผลิตดังนี้นะครับ

1.นำชิ้นถ่านซังข้าวโพด เข้าเครื่องบดผงถ่าน บดผงถ่านให้ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการอัดแท่ง
2.นำผงถ่านที่บดแล้ว เข้าเครื่องผสมผงถ่านที่ อยู่ด้านบนของเครื่องอัดถ่าน ส่วนผสมที่ใช้ผสมหลักก็จะมี ผงถ่าน + แป้งมัน + น้ำ จากนั้นคลุกเข้าให้เข้ากัน
3.นำผงถ่านที่ผ่านการผสมคลุกเคล้ากันแล้ว ปล่อยลงสู่เครื่องอัด อัดถ่านออกมาเป็นถ่านอัดแท่ง
4.ตัดแท่งถ่านให้มีขนาดเท่ากันทุกก่อน จากนั้นนำลงตะกร้า
5.นำถ่านที่อัดแท่งแล้วก็อัดเสร็จแล้ว ไปตากแดดเพื่อลดความชื้นของถ่าน หรือ จะนำเข้าเตาอบถ่านก็ได้ แล้วแต่สะดวก
6.บรรจุถ่านอัดแท่งที่ผ่านการอบ แล้ว เพื่อส่งจำหน่ายต่อไป

  เป็นอย่างไรบ้าง ครับ สำหรับการผลิตถ่านไมยากเลยใช่มั้ยครับ
.....

11.คุณภาพของถ่านที่ออกมาจากเครื่องอัด จะรู้ได้อย่างไรว่าดีได้คุณภาพ หรือว่า ไม่ดี ไม่ได้คุณภาพค่ะ ???

  สำหรับคุณภาพ ของถ่าน ที่ออกจากเครื่องอัด ที่ได้คุณภาพนะครับ

1.ถ่านที่ออกมาจากเครื่องอัด ต้องแน่นระดับหนึ่ง (เมื่อนำไปตากหรือว่าอบแล้ว จะแน่นแล้วก็แข็งขึ้นมาก)
2.ช่วงที่อัดออกมาเป็นแท่ง สามารถหยิบจับถ่านได้ ไม่ไหลออกมาเป็นของเหลว
3.ผิวของถ่านที่ผ่านออกมาจากเครื่องอัดแล้ว ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน เนียนเรียบ
4.เมื่อลดความชื้นของถ่านแล้ว ถ่านจะแข็งแล้วก็แน่น

  หลักๆ แล้ว ต้องให้ได้คุณภาพระดับนี้นะครับ ถึงจะได้ถ่านที่มีคุณภาพ ที่เหลือนอกจากนี้ คุณภาพก็จะมาจาก วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นถ่าน เช่นซังข้าวโพด และ แป้งมัน นะครับ หรือส่วนผสมอื่น ที่ผู้ผลิตนำมาผสมแล้วก็อัดเป็นแท่งถ่านครับ
.....

12.แล้วต้องมีเครื่องจักรอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่าค่ะ ???

  ถ้าหากว่าต้องการผลิตถ่านอัดแท่งในเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับการผลิตขึ้นมาอีกหน่อยนะครับ เครื่องจักรที่จะแนะนำก็มี

1.เครื่องตัดถ่าน (เครื่องนี้จะตัดถ่านได้รวดเร็วและประหยัดคนงาน ระยะการตัดถ่านแน่นอนสำหม่ำเสมอ ตลอด ครับ)
2.อุปกรณ์ลำเลียงผงถ่าน (จะเป็นรางเลื่อนผงถ่านใส่ลงไนในถังผสม แล้วก็เครื่องบดนะครับ ทำให้ลดแรงงานในส่วนนี้ลง เป็นการลดต้นทุนการผลิครับ)
3.เตาอบถ่าน (อันนี้เป็นเตาเหล็ก อบแก๊ส นะครับ ลดเวลการอบลง ทำให้ได้ถ่านที่มีคุณภาพ ความชื้นต่ำ เพื่อคุณภาพถ่านที่ดีขึ้นครับ)

  ก็อย่างว่านะครับ ถ้าหากว่าเราจะหวังให้ถ่านอัดแท่งเมืองไทยของเรา ก้าวไกลให้ไปทั่วโลกได้เนี่ย อุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือเราต้องพร้อม ยิ่งเครื่องมือเราพร้อม การผลิตสินค้าถ่านของเรายิ่งมั่นใจได้ว่า มีคุณภาพ พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดโลกได้นะครับ เนอะ...
.....

13.ขอดูเครื่องตัดแท่งถ่าน เทคโนโลยี ใหม่ หน่อยนะค่ะ ว่า เป็นอย่างไรบ้าง ???
  ได้ ไม่มีปัญหาครับเครื่องที่เห็นอยู่นี้ เป็นเครื่องตัดแท่งถ่านที่ทางเราได้ทำการพัฒนาขึ้นมาใหม่ครับ ใช้เลเซอร์เป็นตัว วัดขนาดของถ่าน เพื่อตัดถ่านให้ได้ขนาดที่เหมาะสมแล้วใกล้เคียงกันทุกแท่งครับ
.....
14.แล้วอุปกรณ์ลำเลียงถ่านเป็นอย่างไรค่ะ ???
  ดูรูปแล้วกันนะครับ เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์ลำเลียงผงถ่านเข้าเครื่องบด แล้วก็เข้าเครื่องผสม เพื่อลดคนงานขนขึ้น ซึ่งยุ่งยาก ทางเราก็เลยออกแบบเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานนะครับ การทำงานจะรวดเร็วขึ้นสามารถทดแทนคนงานได้ถึง 2 คน และทำงานต่อเนื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลยแหละครับ....
.....
15.อ้อ เตาอบด้วยค่ะ เผื่อทางดิฉัน จะทำแบบครบวงจร จะได้รู้ว่าต้องเตรียมแล้วก็วางแผนอะไรได้บ้าง ???

  ได้ครับ เตาที่เห็นเป็นเตาต้นแบบนะครับ อบโดยใช้แก๊สเป็นตัวให้ความร้อนเข้าสู่ห้องอบถ่านนะครับ สามรถอบได้สูงสุดถึง 3 ตัน ระยะเวลาการอบใช้เวลาอบทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง ต่อ การอบถ่าน 1 ครั้ง ซึ่งเครื่องนี้พัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อให้การอบถ่านให้แ้ห้งโดยไม่ต้องรอ แสงแดด หรือพึ่งดินฟ้าอากาศเลยแหละครับ ปริมาณการใช้แก๊สน้อยมากครับเมื่อเทียบกับปริมาณถ่านที่ได้ออกมานะครับ
.....

16.ขอดูคุณภาพถ่านที่ออกจากเตาอบนี้หน่อยนะค่ะ ไม่ว่ากันนะค่ะ เพราะอยากรู้ว่า แค่ไหนค่ะ

  ได้ครับ
.....

17.ถ้าหากว่าเราต้นทุนน้อย เราไม่ต้องใช้เตาอบ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ลำเลียง แล้วก็เครื่องตัด เราใช้แรงงานของเราเองก็ได้ใช่มั้ยค่ะ เพราะช่วงแรกเงินลงทุนก็น้อย ทำน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยพัฒนา หรือว่า ซื้อมาเพิ่มเติมก็ได้ จะได้มั้ยค่ะ ???

  ได้ครับ สำหรับธุรกิจครอบครัวที่มีเงินทุนน้อย ต้องใช้แรงเข้าสู้ดีกว่านะครับ แต่ถ้าหากว่าการจ้างคนงาน ถ้าหากว่ามองกันระยะยาวแล้ว การจ้างแรงงานมีแต่จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ช่วงแรกไม่เป็นไรครับ เราออกแรงมากหน่อย เพราะเครื่องจักรเราไม่พร้อม อีกอย่างเราก็ยังไม่ต้องการกำลังการผลิตเยอะ เราก็ใช้แรงงานเหมาะสมที่สุดครับ หลังจากมีออเดอร์ เพิ่มมากขึ้น เราค่อยมาขยับขยายก็ได้ครับ ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดครับ ฮ่าๆ ๆ เพราะเครื่องจักรคงไม่บูด ไม่เน่า นะครับ ยิ่งนาน ยิ่งมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ครับ ไม่หยุดอยู่ กับที่แน่นอนครับ
.....

18.หลังจากที่นำถ่านออกจากเตาอบแล้ว หรือ ตากแดดไล่ความชื้นแล้ว ต้องบรรจุเลยหรือเปล่าค่ะ แล้วถ้าหากว่าปล่อยถ่านทิ้งไว้เฉยๆ จะเป็นอะไรหรือเปล่าค่ะคุณเป้ ???
  ถ่านที่นำออกจากเตาอบแล้ว หรือว่าตากแดด ไล่ความชื้นออกจากถ่านหมดแล้ว ควรที่จะบรรจุลงกระสอบ หรือว่ากล่องบรรจุถ่านเลยนะครับ เพราะว่าถ่านมีคุณสมบัติ ดูดความชื้น อยู่ในตัวของถ่านเองอยู่แล้ว การปล่อยไว้ตากอากาศตอนกลางคืนเข้าไปอีก ถ่านก็ดูดความชื้นเข้าไป ทำให้ถ่านมีความชื้นเข้าไปเหมือนเดิมครับ จะทำให้ถ่านอัดแท่งของเรา คุณภาพต่ำลงมาได้ครับ การใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ก็ จะดีมากๆ เลยนะครับ
.....
19.เสปกของถ่านอัดแท่งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ต้องเป็นอย่างไรบ้างค่ะคุณเป้

  รายละเอียดข้อมูลคร่าวๆ ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของถ่านซังข้าวโพดนะครับ จะอยู่ประมาณนี้นะครับ


Specification
total moisture : <8% max
fixcarbon : >75% up
ash : <8 %
volatile matter : <20 %
Carorific value : >6000 Kcal/Kg

  มาตรฐานของถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดก็อยู่ประมาณนี้นะครับซึ่งทั่วไปแล้ว จะต่ำกว่า ถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว แต่ประมาณนี้ ลูกค้าต่างประเทศเขาก็ Happy แล้วละครับ เนอะ...
.....

20.ขอบคุณมากค่ะ คุณเป้ คราวหน้าอยากสอบถามเรื่องการตลาด เรื่องการส่งสินค้า พอจะให้คำตอบหรือว่าข้อมูลได้มั้ยค่ะ ???

  ได้ครับ ช่วยเหลือได้ก็จะช่วยนะครับ อย่างไรก็สอบถามมาเลยแล้วกันนะครับ ผมไม่ได้หวงความรู้อะไรมากหรอก เพื่อไขความกระจ่างให้ผู้ผลิตหรือว่า ผู้ที่มองธุรกิจนี้อยู่ นะครับ บางทีการเริ่มต้นธุรกิจ ถ้าหากว่ามีข้อมูลการติดสินใจที่มากพอ ยิ่งทำให้เรามั่นใจว่าธุรกิจนี้ที่เราลงทุน ลงแรงลงไปแล้ว จะไม่ล่ม หรือว่าล้มกลางคันใช่มั้ยครับ ทางผมก็จะเป็นเพื่อนคอยปรึกษาแล้วก็ อยู่เคียงข้างท่านเสมอครับ

ยินดีนะครับ มีปัญหาก็ โทรมาคุยกันหรือหรือ เมลล์มาก็ได้ครับ

TEL: 081-5510046
Mail:webmaster@thaisumi.com

เป้เองครับ ฮ่าๆๆ ....